ยินดีต้อนรับทุกท่าน
มีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเกี่ยวกับความเป็นมา หรือเกี่ยวกับพระเครื่อง หรือใด ๆ สามารถสอบถาม หรือติดต่อมาที่ 0885226199

ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ


                                             ประวัติหลวงปู่ดู่  พรหมปัญโญ  วัดสะแก อยุธยา




หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล หนูศรี เดิมชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2447 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง ซึ่งเป็นวันวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง มีโยมพี่สาวอีก 2 คน มีชื่อตามลำดับ ดังนี้
1.  พี่สาวชื่อ ทองคำ สุนิมิตร
2.  พี่สาวชื่อ สุ่ม พึ่งกุศล
3.  หลวงปู่ดู่
ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาดความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดามารดาตึ้งแต่เยาว์วัย นางยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย
เมื่อตอนที่ท่านเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรจะบันทึกไว้คือ วันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอดขนมมงคลอยู่นั้น ท่านซึ่งถูกวางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกน้ำทั้งคนทั้งเบาะ แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขเลี้ยงทื่บ้านมาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับ มาระหว่างตัวท่านกับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมาจึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้าง รั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่า ท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด
ในโลกนี้ไม่มีอะไรเลยนอกจากทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป พึงมองเห็นโลกนี้เป็นความว่างเปล่า ว่างเปล่าจากตัวตนที่เที่ยงแท้ บุคคลใดก็ตามที่ยึดมั่นหมายมั่นแม้ว่าเป็นลูกของตน สามีภรรยาของตน บิดามารดาของตน หรือวัตถุสิ่งของของตน เมื่อความไม่เที่ยงมาถึง ความเสื่อมสลายย่อมบังเกิดขึ้นกับสิ่งเหล่านั้นอันเป็นธรรมดาโลก การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ จึงนำมาซึ่งความทุกข์ระทมใจของผู้ยึดมั่นหมายมั่นนั้น
มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านจากไปอีก ขณะท่านมีอายุเพียง 4 ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้
ท่านได้อาศัยอยู่กับยาย โดยมีโยมพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
สู่เพศพรหมจรรย์
เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พรหมปัญโญ
ในพรรษาแรก ๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม เป็นต้น
ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านก็ได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น ผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ.2469 หลวงพ่อกลั่นก็มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่ในชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่รักการศึกษาค้นคว้า ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่ จังหวัดสุพรรณบุรีและสระบุรี
ประมาณพรรษาที่ 3 ท่านก็ได้เดินธุดงค์ โดยมีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นจุดหมายปลายทาง กล่าวคือเดินทางออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยามุ่งตรงสู่จังหวัดสระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จากนั้นท่านเดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ท่นได้ใช้เวลาเดินธุดงค์ ประมาณ 3 เดือน จนกระทั่งอาพาธจึงได้พักการธุดงค์
หลวงปู่ดู่ท่านได้ถือข้อวัตร คือฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 แต่ภายหลังคือประมาณปี พ.ศ.2525 เหล่าสานุศิษย์ได้กราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อ เนื่องจากความชราภาพประกอบกับต้องรับแขกมากขึ้น ท่านจึงได้ผ่อนปรนตามความเหมาะสมควรแห่งอัตภาพ แต่เมื่อถามความเห็นของท่านจึงทราบว่า ท่านต้องการโปรดญาติโยมที่มาจากที่ไกล ๆ จะได้มีโอกาสทำบุญ
หลวงปู่ดู่ท่านได้ตัดสินใจไม่รับกิจ นิมนต์ไปนอกวัดตั้งแต่ก่อนปี พ.ฯศ.2490 ส่วนที่นาอันเป็นสมบัติดั้งเดิมของท่าน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 ไร่ ท่านก็แบ่งให้กับหลาน ๆ ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ นายยวง พึ่งกุศล ผู้เป็นบุตรของนางสุ่ม โยมพี่สาวคนกลางที่เคยเลี้ยงดูท่านมาตลอด ก็ได้รับส่วนแบ่งที่นาจากท่านด้วยจำนวน 18 ไร่เศษ แต่ด้วยความที่นายยวงผู้เป็นหลานของท่านนี้ไม่มีทายาท จึงคิดปรึกษากับนางถมยา ผู้เป็นภรรยา เห็นควรให้ยกเป็นสาธารณประโยชน์ คือยกที่ดินแปลงนี้ให้กับโรงเรียนวัดสะแก ซึ่งหลวงปู่ดู่ท่านก็โมทนาในกุศลเจตนาของคนทั้งสอง
ในเรื่องการสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ท่นได้ปฏบัติอย่างสม่ำเสมอมิได้ละเลย นอกจากนี้ท่านยังได้สอนหนังสือให้เด็ก ๆ ในวัดให้อ่านเขียนและทำเลขได้ทั้งชายหญิง
อยู่มาวันหนึ่งเข้าใจว่าก่อนปีพ .ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่หลวงปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็นและปฏิบัติกิจส่วนตัว เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็จำวัด เกิดนำมิตไปว่า ท่านได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างเข้าไป 3 ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบ ๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมดแล้วจึงตกใจตื่น เมื่อท่านมาพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตที่เกิดขึ้นเข้าใจได้ว่า แก้ว 3 ดวงนั้นจะต้องเป็นแก้ว 3 ประการได้แก่ พระไตรสรณคมน์ พอว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจมิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่ก้วของพระพุทธศาสนา การสมาทานศีล 5 ศีล 8 หรือการขอบรรพชาอุปสมบทก็ต้องว่าไตรสรณคมน์นี้ทุกครั้ง ท่านจึงกำหนดเอาเป็นองค์ภาวนา
ประสบการณ์ธุดงค์
ประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2468 ออกพรรษาแล้วท่านก็เริ่มออกเดินธุดงค์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายที่ป่าเขาทางแถบจังหวัดกาญจนบุรี และแวะนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี จึงเข้าพักปฏิบัติตามป่าเขาและถ้ำต่าง ๆ 
หลวงพ่อดู่ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกที่ท่านขวนขวายศึกษาและปฏิบัตินั้น แท้จริงมิได้มุ่งเน้นมรรคผลนิพพาน หากแต่ต้องการเรียนรู้ให้ได้วิชาต่าง ๆ เป็นต้นว่า วิชาคงกระพันชาตรี ก็เพื่อที่จะสึกออกไปแก้แค้นพวกโจรที่ปล้นบ้านโยมพ่อโยมแม่ท่านถึง 2 ครั้ง แต่เดชะบุญ แม้ท่านจะสำเร็จวิชาต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจ ท่านกลับได้คิด นึกสลดสังเวชใจตัวเองที่ปล่อยให้อารมณ์อาฆาตแค้นทำร้ายจิตใจตนเองอยู่เป็น เวลานับสิบ ๆ ปี ในที่สุด ท่านก็ได้ตั้งจิตอโหสิกรรมให้แก่โจรเหล่านั้น แล้วมุ่งดำเนินจิตตามทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างแท้จริง
ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าได้พบฝูงความยป่ากำลังเดินเข้ามาทางท่าน ท่านตั้งสติอยู่ครู่หนึ่ง จึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวหยุดยืนภาวนานิ่งอยู่ ฝูงความยป่าที่มุ่งตรงมาทางท่านนั้น พอเข้ามาใกล้จะถึงตัวท่าน ก็กลับเดินทักษิณารอบท่านแล้วก็จากไป บางแห่งที่ท่านเดินธุดงค์ไปถึง ท่านมักพบกับพวกนักเลงที่ชอบลองของ ครั้งหนึ่ง มีพวกนักเลงเอาปืนมายิงใส่ทานขณะนั่งภาวนาอยู่ในกลด ท่านเล่าให้ฟังว่า พวกนี้ไม่เคารพพระ สนใจแต่ "ของดี" เมื่อยิงปืนไม่ออก จึงพากันมาแสดงตัวด้วยความนอบน้อม พร้อมกับอ้อนวอนขอ "ของดี" ทำให้ท่านต้องออกเดินธุดงค์หนีไปทางอื่น
การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่ นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา แต่สุขภาพธาตุขันธ์ของท่านก็ไม่เป็นใจเสียเลย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผากเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่ละความเพียร สมดังที่ท่านเคยสอนลูกศิษย์ว่า "นิพพานอยู่ฟากตาย" ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไปดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง





เน้นหนักที่การปฏิบัติ

หลวงปู่ดู่ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า “ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า” ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์ และผู้สนใจใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นความเมตตาอย่างสูง

สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อย ๆ หรือมีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรมก็คงได้เห็นลีลาการสอนของท่าน ที่จะโน้มน้าวผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่น ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากวิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังในเชิงว่ากล่าวว่า เป็นต้นเหตุของปัญหา และความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตาม อันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม”

แม้ว่าหลวงปู่ดู่จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง ที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือ การปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านที่ว่า “เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้” จากคำพูดนี้จึงเสมือนเป็นการยืนยันว่า การปฏิบัติภาวนานี้แหละเป็นที่สุดแห่งเครื่องรางของขลัง

เพราะคนบางคน แม้แขวนพระที่ผู้ทรงคุณวิเศษอธิษฐานจิตให้ก็ตาม ก็ใช่ว่าจะรอดปลอดภัย อยู่ดีมีสุขไปทุกกรณี อย่างไรเสียทุกคนไม่อาจหลีกหนีวิบากกรรมที่ตนสร้างไว้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็คือ กรรม

ดังนั้นจึงมีแต่ พระสติ พระปัญญา ที่ฝึกฝนอบรมมาดีแล้วเท่านั้น ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้เท่าทัน และพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและสิ่งกระทบต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตอย่างไม่ทุกข์ใจ ดุจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเสมือนฤดูกาลที่ผ่านเข้ามาในชีวิต บางครั้งก็ร้อนบางครั้งก็หนาว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปตามธรรมดาโลก

คำสอนของหลวงปู่ดู่จึงสรุปลงที่ การใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาทนั่นหมายถึงว่า สิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อม ๆ กันก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติในมรรควิถีที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอ ๆ ว่า “หมั่นทำเข้าไว้ ๆ”



อ่อนน้อมถ่อมตน

นอกจากความอดทนอดกลั้นอันยิ่งแล้ว หลวงปู่ดู่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็นพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวรารามหรือที่เรียกกันว่า "ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม" ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ดู่ 1 พรรษา มานมัสการหลวงปู่ โดยยกย่องเป็นครูอาจารย์ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยมกราบหลวงพ่อเสร็จแล้ว หลวงปู่ท่านก็กราบตอบเรียกว่า ต่างองค์ต่างกราบซึ่งกันและกัน เป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกินในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบใหญ่ ทางด้านทิฐิมานะ ความถือตัวอวดดี ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสตัวหลงออกเรี่ยราด เที่ยวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่า ตนดี ตนเก่ง โดยเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป

หลวงปู่ดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมในสำนักไหน ๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า "คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร" ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง

หลวงปู่ดู่เป็นพระที่พูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น "ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้" "ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต" "อย่าลืมตัวตาย" และ "ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เป็นต้น



ข้อมูลจาก 
                http://www.oknation.net/blog/mod-amulet/2009/07/20/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น